ถาม-ตอบ
ถาม-ตอบ  เกี่ยวกับหักสูตร
การจัดทำเอกสารหลักสูตร/การเสนอหลักสูตร/รายวิชา
การเสนอขออนุมัติหลักสูตรต่อมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการอย่างไร และมีเอกสารประกอบอะไรบ้าง?
สามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์กองบริการการศึกษา  กรณีหลักสูตรใหม่ : คลิกดูรายละเอียด กรณีหลักสูตรปรับปรุง : คลิกดูรายละเอียด
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร มีอะไรบ้าง หาได้จากที่ไหน
จากเว็บไซต์กองบริการการศึกษา หัวข้อ “แบบฟอร์ม” รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่หัวข้อ “การพัฒนาหลักสูตร/การสอน”
ในการทำเอกสารหลักสูตมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
ข้อมูลเดียวกันที่ปรากฏในส่วนต่างๆ ของเอกสารต้องตรงกัน เช่น ชื่อหลักสูตร รหัสวิชา จำนวนหน่วยกิต รายชื่อและคุณวุฒิของอาจารย์ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้หลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อปริญญาตามพระราชกฤษฎีกาชื่อว่าอะไร
ชื่อพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2550
ตามที่ สกอ. ให้ร ะบุจำนวนหน่วยกิตเป็น 4 หลัก “X(X-X-X)” ซึ่งประกอบด้วยจำนวนชั่วโมงบรรยาย ชั่วโมงปฏิบัติการ และ
ชั่วโมงศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อยากทราบวิธีการคิดจำนวนชั่วโมงการบรรยายและการปฏิบัติ เป็นชั่วโมงศึกษาด้วยตนเองมีวิธีการคิดอย่างไร
สามารถดูวิธีการคิดได้จากมติที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษา มก. ครั้งที่ 8/2553 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2553
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ TQF 
รายละเอียดเพิ่มเติม
แนวทางการทำข้อมูล TQF แต่ละแบบ/หมวด 
์รายละเอียดเพิ่มเติม
การระบุผลงานวิจัย งานแต่งเรียบเรียงของอาจารย์ ในเอกสาร มคอ.2 ต้องระบุปีที่ตีพิมพ์ด้วยใช่หรือไม่?
ใช่ ให้ระบุปีที่พิมพ์ ทั้งงานวิจัยและงานแต่งเรียบเรียง โดยใช้ผลงานล่าสุด 5-10 เรื่อง (ไม่ควรเกิน 5 ปี) หรือต่ำกว่า 5 เรื่องได้กรณีมีงานวิจัยน้อย
และให้แนบบรรณานุกรมแสดงผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรและสอดคล้องกับ “ผลงานทางวิชาการ” ในตารางอาจารย์ประจำหลักสูตร)
้การจัดทำรายงานข้อมูลหลักสูตรและการจัดการศึกษา (สมอ.07) ต้องจัดทำทุกภาคการศึกษาใช่หรือไม่?
ใช่ จนกว่าหลักสูตรจะจัดทำ มคอ.7 ถึงจะใช้ มคอ.7 แทนแบบแบบรายงานฯ สมอ.07
การรายงานผลรายวิชาที่ส่งผลการดำเนินการโดยใช้ฟอร์มของ สกอ. นับเป็นคะแนนงนการดำเนินงานจากจำนวนรายวิชาที่สง ใช่หรือไม่?
เท่าที่ทราบ ขณะนี้มีตัวชี้วัดที่ 17 ของ ก.พ.ร. และตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เกี่ยวกับผู้เรียนเป็นสำคัญประกันคุณภาพ สกอ. ใช้เกณฑ์แตกต่างกัน ก.พ.ร. ใช้ร้อยละ 75 ของอาจารย์ประจำ ประกันคุณภาพใช้เรื่องของกระบวนการโดยนำรายละเอียดข้อมูลรายวิชามาตอบตามข้อกำหนดซึ่งมีอยู่ 7 ประเด็น
สัดส่วนของการประเมินผลที่เป็นเปอร์เซนต์ แบ่งตามผลการเรียนรู้หรือแบ่งตามเนื้อหา
อยู่ที่การดีไซน์หลักสูตรว่าจะเน้นด้านไหน โดยต้องสอดคล้องกับแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum mapping) และผลการเรียนรู้ตามข้อกำหนดของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
มคอ.สะท้อนในเรื่องความเป็นนานาชาติในหัวข้อใด เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มาตรฐานที่จะทำให้หลักสูตรเทียบเคียงกับนานาชาติและสามารถถ่ายโอนนักศึกษา หรือส่งบัณฑิตไปทำงานต่างประเทศได
อยู่ที่ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาวิชา รวมถึงจำนวนหน่วยกิตและองค์ประกอบในข้ออื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน
โดยแบบ มคอ. มีหัวข้อเรื่องการเทียบโอนเพื่อให้หลักสูตรที่มีระบุข้อมูลในส่วนนี้
จะหาจุดพอดีระหว่างการสร้างมาตรฐานกับลักษณะนิสิตพึงประสงค์ได้อย่างไรเมื่อบางหลักสูตรใช้ต่างวิทยาเขตและ Input คือนิสิตที่รับเข้ามา
อาจแตกต่างกันทำให้ต้องเขียนวิธีการแตกต่างกัน ควรแยกคนละหลักสูตรเมื่อความแตกต่างมีมากแค่ไหน
1. Core Knowledge ที่ต้องมีตัวร่วมกันและตัวเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่าง
2. ใช้หลักสูตรเดียวกันโดยมีมาตรฐานผลการเรียนรู้คุณภาพบัณฑิตเท่าเทียมกัน
3. กลยุทธ์การสอนและการมีส่วนร่วมของนิสิตกับอาจารย์ การให้ความสนใจโดยอิงตามพัฒนาการของผู้เรียน
การปิดหลักสูตร / รายวิชา
มหาวิทยาลัยมีกลไกหรือกระบวนการในการขอปิดหลักสูตร/รายวิชาหรือไม่
มี เป็นมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [download] หากจะเสนอขอปิดหลักสูตรจะต้องกรอกแบบฟอร์มการขอปิดหลักสูตร ลส. มก. 1 [download]
กรณีรายวิชาที่ไม่ได้เปิดสอนมาเป็นเวลา 10 ปี แต่ไม่ได้ทำเรื่องขอปิดรายวิชา จะสามารถเปิดสอนอีกได้หรือไม่ 
สามารถเปิดสอนได้อีก เพราะถือว่ายังไม่ได้ดำเนินการขอปิดรายวิชานั้น
“การปิดรายวิชา” กับ “การยกเลิกรายวิชา” ต่างกันอย่างไร 
1. การปิดรายวิชา ความหมายด้านหลักสูตร หมายถึง ไม่มีวิชานี้อีกต่อไป
2. การยกเลิก หมายถึง วิชานี้ไม่ใช่วิชาของหลักสูตรนี้ เมื่อไม่ต้องใช้วิชานี้ ก็ให้ทำการยกเลิกออกจากหลักสูตร
โดยวิชานี้ยังมีอยู่ในความรับผิดชอบของต้นสังกัดเดิม (ผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์ปิดรายวิชาที่อยู่ในความรับผิดชอบของสังกัดอื่น)

3. หากไม่ใช่วิชาบังคับ สามารถทำบันทึกข้อความจากต้นสังกัดพร้อมแนบรายละเอียดรายวิชา ที่รับผิดชอบขอปิดรายวิชาได้ ถ้าเป็นวิชาบังคับ    จะต้องดำเนินการพร้อมกับการปรับปรุงหลักสูตร
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ประมวลคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
คลิกเพื่ออ่านคำถามและคำตอบของ สกอ.
อาจารย์ประจำหลักสูตร / คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร 5 คน ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอย่างน้อย 2 คน หากมีองค์กรวิชาชีพให้มีผู้แทนองค์กรวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน คำว่า ภายนอก หมายถึง ต้องนอกมหาวิทยาลัยเท่านั้นใช่หรือไม่ ถ้านอกภาควิชาแต่อยู่ในคณะเดียวกันเป็นกรรมการได้หรือไม่
กรรมการภายนอก หมายถึง นอกมหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องเป็นอาจารย์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาำกภาคเอกชนก็ได้ แต่ขอให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของหลักสูตรนั้นๆ พอที่จะมาให้ความคิดเห็นได้ หรือผู้ใช้บัณฑิตก็ได้ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่นอกภาควิชาแต่อยู่คณะเดียวกันไม่ถือเป็นบุคคลภายนอก
อาจารย์ที่เกษียณอายุราชการแล้วสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่
ไม่สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ แต่สามารถเป็นอาจารย์สนับสนุนหรืออาจารย์พิเศษได้
อยากทราบความหมายของอาจารย์ประจำ
อาจารย์ประจำ หมายถึง อาจารย์ข้าราชการ อาจารย์พนักงาน รวมทั้งอาจารย์ที่มีสัญญาจ้างกับสถาบันการศึกษาทั้งปีการศึกษาที่มีระยะเวลาทำงานไม่ต่ำกว่า 9 เดือน ในกรณีที่อาจารย์มีระยะเวลาทำงาน 6 เดือน ให้นับเป็น 0.5 คน รวบรวมสิ้นสุดปีการศึกษา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา (ฉบับปรับปรุง : ธันวาคม 2549) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การทำวิจัยสถาบัน
กรณีหลักสูตรที่พึ่งได้รับอนุมัติยังไม่ครบ 3 ปี แต่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นรูปแบบ มคอ.2 นั้น จะต้องทำวิจัยสถาบันหรือไม
ไม่ต้องทำวิจัยสถาบัน ยกเว้นหลักสูตรนั้นได้ดำเนินการแล้ว 3 ปี ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องเริ่มทำวิจัยสถาบันตามมาตรการส่งเสริมและปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลา 5 ปี ของมหาวิทยาลัย
เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำจำกัดความ “หลักสูตรพหุวิทยาการ” หรือ “หลักสูตรสหวิทยาการ”
หลักสูตรพหุวิทยาการหรือหลักสูตรสหวิทยาการ หมายถึง เป็นวิธีการที่นำเอาความรู้หลายศาสตร์หรือหลายอนุศาสตร์มาใช้
ในการเรียนการสอนโดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์และวิจัย จนกระทั่งสามารถพัฒนาความรู้หรือองค์ความรู้เป็นศาสตร์หรือ
เกิดอนุศาสตรขึ้นใหม่ (ที่มา:สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สกอ.)

0 Comments

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.