บริการตรวจข้อสอบด้วยเครื่อง OMR

แนะนำงานบริการอ่านหมายด้วยแสง (Guide to Optical Scanning Services)


งานบริการ อ่านหมายด้วยแสง สำนักทะเบียนและประมวลผล ให้บริการในการอ่าน การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ โดยใช้กระดาษแบบทดสอบที่พิมพ์ขึ้นเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภท (standard scannable forms) ผ่านเครื่องอ่านหมายด้วยแสง หรือ Optical Mark Read (OMR) Scanners เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรวบรวมข้อมูล และมีประสิทธิผลสูงกว่าการนำเข้าข้อมูลด้วยมือ ด้วย Optical Mark Read (OMR) Scanners สามารถประมวลผลการทำงาน สูงถึง 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างการใช้งาน Optical Mark Read (OMR) Scanners ในธุรกิจ โรงเรียน และหน่วยงานรัฐบาล เช่น

  • การลงทะเบียนเรียน
  • การรายงานระดับคะแนน
  • การประเมินผลการสอบของผู้เรียน
  • การประเมินผลการเรียนการสอน
  • การประเมินผลการปฏิบัติของพนักงาน
  • การทดสอบ หรือแบบสอบถามในงานวิจัย เป็นต้น

ขนาด ของกระดาษแบบทดสอบ (Standard scannable forms) สามารถออกแบบให้เหมาะสมสำหรับงานในแต่ละประเภท โดยมีพิสัยของขนาดระหว่าง 2.5″ x 5″ ถึง 9″ x 14″ (60-100 lb. offset)

งานบริการอ่านหมายด้วยแสง (Optical Scanning Services)

สำนักทะเบียนและประมวลผล กำหนดให้มีงานบริการอ่านหมายด้วยแสง ประกอบด้วย

  • การอ่านข้อมูล (Scanning)
  • การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Verification)
  • การบรรณาธิกรณ์ข้อมูล (Editing)
  • การวิเคราะห์ทางสถิติ (Statistical analysis)
  • การแปลงข้อมูล (Data transfer)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน (Facilities)
เครื่องอ่านหมายด้วยแสง หรือ Optical Mark Read (OMR) Scanners เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท National Computer Systems รุ่น Opscan 8 scaner ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งสองด้าน และสามารถประมวลผลการทำงาน สูงถึง 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง

รูปแบบของการใช้บริการ

  1. การอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ
  2. การอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ การคำนวณคะแนน และการวิเคราะห์ทางสถิติ
  3. การอ่านและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย การอ่านและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสำหรับการประเมินผลการเรียนการสอน
  4. การให้คำปรึกษาในการออกแบบพิมพ์สำหรับเครื่องอ่านหมายด้วยแสง

กำหนดระยะเวลารับงาน

  • เวลา 1 วัน สำหรับการอ่านข้อมูลและแปลงข้อมูล
  • เวลา 3 วัน สำหรับการอ่านข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

การรวบรวมข้อมูล (Data collection)
การรวบรวมข้อมูลนี้ประกอบด้วยการอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ และจัดการแปลงข้อมูลในรูปแบบ (format) ต่าง ๆ กัน 5 รูปแบบ โดยจัดส่งข้อมูลที่ได้ทางไปรษณีย์อีเล็กทรอนิก (e-mail) หรือบันทึกลงแผ่นดิสก์ (Diskette)

รูปแบบของการแปลงข้อมูล

  1. Delimited ASCII (.dlm) ใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) เป็นตัวแบ่งข้อมูลในแต่ละฟิลด์ (fields) แฟ้มข้อมูลในรูปแบบนี้ ผู้นำไปใช้งานสามารถแปลงข้อมูลเข้าไปสู่โปรแกรมฐานข้อมูลและตารางทำการได้ สะดวก
  2. Fixed Length Records (.sdf) เป็นรูปแบบข้อมูลโดยมี CR/LF เป็นตัวกำหนดตัวสิ้นสุดในแต่ละ reocrd
  3. Excel (.xls) ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล Microsoft Excel 97 ขึ้นไป
  4. Database (.dbf., mdb) ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลโปรแกรมฐานข้อมูลของ DBASE (Text mode) หรือ Microsoft Access 97 ขึ้นไป
  5. SPSS for Windows (.SPS) แฟ้มข้อมูลที่นำไปใช้งานกับโปรแกรม SPSS for Windows

การประเมินผลการสอบ

  1. การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ (Item Analysis) เพื่อวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (Difficulty factor) อำนาจในการจำแนก (Discrimination index) และสัดส่วนการเลือกตัวลวงหรือตัวเลือกที่เป็นข้อผิด (Distractor Analysis)
  2. การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (Test Reliability) เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการสอบหรือแบบทดสอบว่าจะมีความเชื่อมั่นได้ สูงเพียงใด
  3. การหาค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Validity)
  4. การคำนวณคะแนนตามการกำหนดวัตถุประสงค์และการให้คะแนน เป็นการคำนวณคะแนนแบบทดสอบ โดยกำหนดวัตถุประสงค์และคะแนนตามความต้องการของผู้ออกข้อสอบ โดยต้องกำหนดข้อเริ่มต้นและข้อสิ้นสุดตามวัตถุประสงค์แต่ละชุดวัตถุประสงค์ โดยแต่ละวัตถุประสงค์สามารถตั้งเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดในการให้คะแนนได้ 4 เงื่อนไข ดังนี้
      • ตอบถูกข้อละ 1-10 คะแนน
      • ตอบผิดติดลบข้อละ  1-10 คะแนน
      • ไม่ตอบข้อละ 1-10 คะแนน
      • ตอบเกินข้อละ 1-10 คะแนน

การให้คะแนนแบบทดสอบ

การอ่านข้อมูลจากกระดาษแบบทดสอบ ระบบจะตรวจสอบการให้คะแนน โดยเทียบกับชุดเฉลยคำตอบที่จัดทำขึ้นมาโดยผู้สอน และสามารถกำหนดคะแนนให้ตามจุดประสงค์ของการทดสอบได้ 4 ชุด (ชุดเฉลย 4 แผ่น ตัวอย่างเช่น ในข้อสอบ 100 ข้อ แบ่งจุดประสงค์ออกเป็น 4 ชุด ชุดละ 20 ข้อ จุดประสงค์ที่ 1 ข้อ 1-20 จุดประสงค์ที่ 2 ข้อ 21-40 จุดประสงค์ที่ 3 ข้อ 41-60  และจุดประสงค์ที่ 4 ข้อ 61-80) โดยผู้สอนต้องระบายคำเฉลยลงในกระดาษแบบทดสอบ 4 แผ่น เรียงลำดับแผ่นและข้อ ส่งมาพร้อมกับกระดาษแบบทดสอบที่ต้องการตรวจ) และระบบจะพิมพ์ผลของคะแนนแต่ละจุดประสงค์ และคะแนนรวมให้บนกระดาษแบบทดสอบ ในการอ่านแบบทดสอบ กระดาษแบบทดสอบจะต้องเป็นหมายเลขลำดับแบบพิมพ์เดียวกันทั้งหมด  มิฉะนั้นจะเครื่องจะอ่านไม่ได้

ค่าสถิติพื้นฐานในรายการ

ค่าสถิติพื้นฐานในรายงานสามารถเลือกได้หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือทั้งหมด สำหรับการประเมินผลสอบรายการที่ 1 และ 2 ประกอบด้วย

  1. การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) เป็นรายข้อและคะแนน ฮิตโตแกรม พร้อม Normal curve ค่าตัวเลขของลักษณะของโค้งต่าง ๆ
  2. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม
  3. การหาตัวแทนของข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง เปอร์เซนต์ไตล์ (Percentile) ควอไตล์ (Quartile)
  4. .การวัดการกระจาย พิสัย (Range) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ความแปรปรวน (Variance) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด (Standard Error Mean)
  5. คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) Z-score T-score

Item Discriminating, Item Difficulty and Distractor Proportion, Pearson Product-Moment, Kuder-Richardson, Cronbach’s Alpha