แนะนำงานบริการอ่านหมายด้วยแสง (Guide to Optical Scanning Services)
งานบริการ อ่านหมายด้วยแสง สำนักทะเบียนและประมวลผล ให้บริการในการอ่าน การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ โดยใช้กระดาษแบบทดสอบที่พิมพ์ขึ้นเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภท (standard scannable forms) ผ่านเครื่องอ่านหมายด้วยแสง หรือ Optical Mark Read (OMR) Scanners เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรวบรวมข้อมูล และมีประสิทธิผลสูงกว่าการนำเข้าข้อมูลด้วยมือ ด้วย Optical Mark Read (OMR) Scanners สามารถประมวลผลการทำงาน สูงถึง 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างการใช้งาน Optical Mark Read (OMR) Scanners ในธุรกิจ โรงเรียน และหน่วยงานรัฐบาล เช่น
- การลงทะเบียนเรียน
- การรายงานระดับคะแนน
- การประเมินผลการสอบของผู้เรียน
- การประเมินผลการเรียนการสอน
- การประเมินผลการปฏิบัติของพนักงาน
- การทดสอบ หรือแบบสอบถามในงานวิจัย เป็นต้น
ขนาด ของกระดาษแบบทดสอบ (Standard scannable forms) สามารถออกแบบให้เหมาะสมสำหรับงานในแต่ละประเภท โดยมีพิสัยของขนาดระหว่าง 2.5″ x 5″ ถึง 9″ x 14″ (60-100 lb. offset)
งานบริการอ่านหมายด้วยแสง (Optical Scanning Services)
สำนักทะเบียนและประมวลผล กำหนดให้มีงานบริการอ่านหมายด้วยแสง ประกอบด้วย
- การอ่านข้อมูล (Scanning)
- การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Verification)
- การบรรณาธิกรณ์ข้อมูล (Editing)
- การวิเคราะห์ทางสถิติ (Statistical analysis)
- การแปลงข้อมูล (Data transfer)
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน (Facilities)
เครื่องอ่านหมายด้วยแสง หรือ Optical Mark Read (OMR) Scanners เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท National Computer Systems รุ่น Opscan 8 scaner ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งสองด้าน และสามารถประมวลผลการทำงาน สูงถึง 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง
รูปแบบของการใช้บริการ
- การอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ
- การอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ การคำนวณคะแนน และการวิเคราะห์ทางสถิติ
- การอ่านและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย การอ่านและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสำหรับการประเมินผลการเรียนการสอน
- การให้คำปรึกษาในการออกแบบพิมพ์สำหรับเครื่องอ่านหมายด้วยแสง
กำหนดระยะเวลารับงาน
- เวลา 1 วัน สำหรับการอ่านข้อมูลและแปลงข้อมูล
- เวลา 3 วัน สำหรับการอ่านข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล (Data collection)
การรวบรวมข้อมูลนี้ประกอบด้วยการอ่านข้อมูลจากแบบทดสอบ และจัดการแปลงข้อมูลในรูปแบบ (format) ต่าง ๆ กัน 5 รูปแบบ โดยจัดส่งข้อมูลที่ได้ทางไปรษณีย์อีเล็กทรอนิก (e-mail) หรือบันทึกลงแผ่นดิสก์ (Diskette)
รูปแบบของการแปลงข้อมูล
- Delimited ASCII (.dlm) ใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) เป็นตัวแบ่งข้อมูลในแต่ละฟิลด์ (fields) แฟ้มข้อมูลในรูปแบบนี้ ผู้นำไปใช้งานสามารถแปลงข้อมูลเข้าไปสู่โปรแกรมฐานข้อมูลและตารางทำการได้ สะดวก
- Fixed Length Records (.sdf) เป็นรูปแบบข้อมูลโดยมี CR/LF เป็นตัวกำหนดตัวสิ้นสุดในแต่ละ reocrd
- Excel (.xls) ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล Microsoft Excel 97 ขึ้นไป
- Database (.dbf., mdb) ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลโปรแกรมฐานข้อมูลของ DBASE (Text mode) หรือ Microsoft Access 97 ขึ้นไป
- SPSS for Windows (.SPS) แฟ้มข้อมูลที่นำไปใช้งานกับโปรแกรม SPSS for Windows
การประเมินผลการสอบ
- การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ (Item Analysis) เพื่อวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (Difficulty factor) อำนาจในการจำแนก (Discrimination index) และสัดส่วนการเลือกตัวลวงหรือตัวเลือกที่เป็นข้อผิด (Distractor Analysis)
- การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (Test Reliability) เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการสอบหรือแบบทดสอบว่าจะมีความเชื่อมั่นได้ สูงเพียงใด
- การหาค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Validity)
- การคำนวณคะแนนตามการกำหนดวัตถุประสงค์และการให้คะแนน เป็นการคำนวณคะแนนแบบทดสอบ โดยกำหนดวัตถุประสงค์และคะแนนตามความต้องการของผู้ออกข้อสอบ โดยต้องกำหนดข้อเริ่มต้นและข้อสิ้นสุดตามวัตถุประสงค์แต่ละชุดวัตถุประสงค์ โดยแต่ละวัตถุประสงค์สามารถตั้งเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดในการให้คะแนนได้ 4 เงื่อนไข ดังนี้
-
- ตอบถูกข้อละ 1-10 คะแนน
- ตอบผิดติดลบข้อละ 1-10 คะแนน
- ไม่ตอบข้อละ 1-10 คะแนน
- ตอบเกินข้อละ 1-10 คะแนน
-
การให้คะแนนแบบทดสอบ
การอ่านข้อมูลจากกระดาษแบบทดสอบ ระบบจะตรวจสอบการให้คะแนน โดยเทียบกับชุดเฉลยคำตอบที่จัดทำขึ้นมาโดยผู้สอน และสามารถกำหนดคะแนนให้ตามจุดประสงค์ของการทดสอบได้ 4 ชุด (ชุดเฉลย 4 แผ่น ตัวอย่างเช่น ในข้อสอบ 100 ข้อ แบ่งจุดประสงค์ออกเป็น 4 ชุด ชุดละ 20 ข้อ จุดประสงค์ที่ 1 ข้อ 1-20 จุดประสงค์ที่ 2 ข้อ 21-40 จุดประสงค์ที่ 3 ข้อ 41-60 และจุดประสงค์ที่ 4 ข้อ 61-80) โดยผู้สอนต้องระบายคำเฉลยลงในกระดาษแบบทดสอบ 4 แผ่น เรียงลำดับแผ่นและข้อ ส่งมาพร้อมกับกระดาษแบบทดสอบที่ต้องการตรวจ) และระบบจะพิมพ์ผลของคะแนนแต่ละจุดประสงค์ และคะแนนรวมให้บนกระดาษแบบทดสอบ ในการอ่านแบบทดสอบ กระดาษแบบทดสอบจะต้องเป็นหมายเลขลำดับแบบพิมพ์เดียวกันทั้งหมด มิฉะนั้นจะเครื่องจะอ่านไม่ได้
ค่าสถิติพื้นฐานในรายการ
ค่าสถิติพื้นฐานในรายงานสามารถเลือกได้หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือทั้งหมด สำหรับการประเมินผลสอบรายการที่ 1 และ 2 ประกอบด้วย
- การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) เป็นรายข้อและคะแนน ฮิตโตแกรม พร้อม Normal curve ค่าตัวเลขของลักษณะของโค้งต่าง ๆ
- การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม
- การหาตัวแทนของข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง เปอร์เซนต์ไตล์ (Percentile) ควอไตล์ (Quartile)
- .การวัดการกระจาย พิสัย (Range) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ความแปรปรวน (Variance) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด (Standard Error Mean)
- คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) Z-score T-score